
ในปัจจุบันนี้ การฝังเข็ม หนึ่งในหลายๆ อย่างของการรักษาทางเลือก ซึ่งเป็นศาสตร์ของการแพทย์แผนตะวันออกที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายคนให้ความสนใจ โดยเฉพาะในสุนัขและแมวที่มีปัญหาเรื่องระบบประสาท เช่น การใช้ขาสองขาหลังไม่ได้เนื่องจากอุบัติเหตุ รวมถึงการที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ โดยที่บางตัวอาจเข้ารับการรักษาทางอายุรกรรมมาบ้างแล้ว แต่อาจไม่ตอบสนองการรักษาเท่าที่ควร จนบนท่านอาจจะรู้สึกหมดหวังวันนี้ลองมาทำความรู้จัก การสัตวแพทย์ทางเลือก “การฝังเข็ม”กันดูครับ
สำหรับข้อมูลดีๆ วันนี้มาฝากจากโครงการ Smart Vet Smart ociety คลินิกฝังเข็มโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ครับ
@ การฝังเข็ม คืออะไร
การฝังเข็ม คือการนำ “เข็ม” ไป “ฝัง” ทิ้งไว้ตามจุดต่างๆของร่างกาย เพื่อให้มีการปรับสมดุลของร่างกายให้กลับมาเป็นปกติได้มากที่สุด
@ การฝังเข็มในสัตว์ เหมือนฝังเข็มในคนหรือไม่
การฝังเข็มในสัตว์ มีหลักการเดียวกันกับการฝังเข็มในคน ซึ่งเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดนในอดีตการฝังเข็มในสัตว์ก็นำการฝังเข็มของคนมาดัดแปลงให้เข้ากับโครงสร้างของร่างกายสัตว์และได้มีการศึกษามาอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบัน
@ การฝังเข็มสัตว์นั้น สัตว์จะเจ็บหรือไม่
ในการฝังเข็ม เราจะใช้เข็มที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ทำให้อาจมีความรู้สึกเจ็บปวดบ้าง แต่ค่อนข้างน้อยกว่าการฉีดยาโดยทั่วไป ยกเว้นบางกรณี เช่น สัตว์มีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
ในการทำฝังเข็มครั้งแรก ก็อาจจะเจ็บได้ แต่หากมีการทำต่อเนื่องหลายๆ ครั้ง ก็จะทำให้เกิดความคุ้นเคย ทำให้ความเจ็บทุเลาลงได้
@ การฝังเข็มในสัตว์ สามารถทำในสัตว์ชนิดไหนได้บ้าง
การฝังเข็มในสัตว์สามารถทำได้ในสัตว์ทุกชนิด โดยที่เราต้องสามารถจับบังคับสัตว์เหล่านั้นได้ เช่น สุนัข แมว กระต่าย ฯลฯ หรือในสัตว์ป่า สำหรับสัตว์ที่ดุร้าย อาจจะต้องให้สัตวแพทย์เฉพาะทาง พิจารณาเป็นกรณีไป หรืออาจจะต้องให้ร่วมกับการวางยาสลบสัตว์ในการฝังเข็มด้วย
@ การฝังเข็มในสัตว์ในการรักษาแต่ละครั้งใช้เวลาในนานเท่าไหร่
การฝังเข็มในสัตว์เลี้ยงแต่ละครั้งอาจใช้เวลาต่างกันโดยส่วนใหญ่แล้ว ทั้งการฝังเข็มธรรมดา และฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้า จะใช้เวลารายละประมาณ 30 นาที
@ การฝังเข็มธรรมดา และฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้ามีความต่างกันอย่างไร
การฝังเข็มธรรมดา จะเป็นการรักษาแบบดั้งเดิม คือการฝังเข็มลงไปตามจุดฝังเข็มต่างๆ บนร่างกาย อาจมีการกระตุ้นจุดโดยการหมุนเข็ม หรือวิธีต่าง ๆ โดยการกระตุ้นไฟฟ้า ก็เป็นวิธีการกระตุ้นชนิดหนึ่ง ทำให้ได้ผลเร็วขึ้น หรือลดปวดได้ดีขึ้น แต่ในบางกรณีจะไม่สามารถกระตุ้นไฟฟ้าได้ เช่น สัตว์ป่วยเป็นโรคลมชัก
@ ความถี่ในการรับการฝังเข็มในสัตว์เป็นอย่างไร
ในช่วงแรกจะทำการฝังเข็ม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยเบื้องต้นจะทำติดต่อกันประมาณ 3-4 ครั้ง หากอาการดีขึ้น อาจเว้นระยะเป็น2-3 สัปดาห์ ต่อ 1 ครั้ง หรืออาจจะหยุดการฝังเข็มได้ ในบางกรณี
@ ต้องมีการเตรียมตัวสัตว์อย่างไรบ้าง ก่อนการฝังเข็ม
ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวพิเศษใดๆ สัตว์ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติได้เลย
@ การฝังเข็มในสัตว์ มีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคอะไรบ้าง
เนื่องจากการฝังเข็มเป็นศาสตร์ของการแพทย์แขนงหนึ่งของการแพทย์แผนจีน มีข้อบ่งชี้ในการรักษาได้หลายโรค บางโรคจะต้องทำการฝังเข็มร่วมกับการให้ยาสมุนไพรจีน จึงจะได้ผลแต่ในกรณีเฉพาะฝังเข็มอย่างเดียว จะเน้นรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท และการปวดต่างๆ ซึ่งโรคเหล่านี้ใช้การฝังเข็มเพียงอย่างเดียว มักจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว
จะเห็นได้ว่าการรักษาโรคในสัตว์โดยการฝังเข็มนั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง ดังนั้น หากผู้เลี้ยงต้องการข้อมูลและคำแนะนำในการรักษา สามารถปรึกษาได้ที่คลินิกฝังเข็ม โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลาทำการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-15.00 น. โทร.088-4993473 หรือ 02-2189415
ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
August 23, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/3l9hN6y
คอลัมน์ผู้หญิง - การฝังเข็มในสัตว์เลี้ยง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://ift.tt/36f79nS
Bagikan Berita Ini
0 Response to "คอลัมน์ผู้หญิง - การฝังเข็มในสัตว์เลี้ยง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"
Post a Comment